วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2551

ประวัติกีฬาตะกร้อ


เซปัคตะกร้อ ปัจจุบันนี้มีการเล่นอย่างแพร่หลาย เกือบทั่วโลกรู้จักกีฬาประเภทนี้แล้ว ถึงแม้ว่าปัจจุบันประเทศไทยจะครองความเป็นหนึ่งในโลก แต่จะเห็นว่ามีหลายประเทศที่กำลังพัฒนาฝีมือการเล่นตามขึ้นมาอย่างติดๆ ฉะนั้นเราอย่านิ่งนอนใจ หากเราหยุดอยู่กับที่เมื่อไหร่ เราจะต้องถูกคู่แข่งแซงอย่างแน่นอนกติกาการเล่นเซปัคตะกร้อ มีการปรับเปลี่ยนแก้ไขอยู่ตลอดเวลา เพื่อความสนุกเร้าใจในการแข่งขันและให้ดูเป็นสากลขึ้น ซึ่งพอสรุปคร่าวๆได้ดังนี้1. สนามยาว 13.40 เมตร กว้าง 6.10 เมตร หากเล่นในร่มมีหลังคา เพดานสูงไม่น้อยกว่า 8 เมตรเสาสูง 1.55 เมตร สำหรับชาย และ 1.45 เมตร สำหรับนักกีฬาหญิงตาข่าย กว้าง 70 ซม. ครงกลางตาข่าย สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.52 เมตร และระดับเยาวชน ต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.42 เมตร2. ลูกตะกร้อเป็นรูปทรงกลม เส้นรอบวง 42-44 ซม. มีรู 12 รู กับ 20 จุดไขว้ตัดกัน ทำด้วยหวายหรือไยสังเคราะห์ ต้องมี 9-11 เส้น หนัก 170-180 กรัม3. การแต่งกาย เสื้อยืด กางเกงขาสั้น ชายเสื้อต้องอยู่ในกางเกงตลอดเวลา ห้ามใช้อุปกรณ์ช่วยในการเคลื่อนไหวและการเร่งความเร็วของลูกตะกร้อ ห้วหน้าทีม ต้องติดปลอกแขนที่แขนด้านซ้าย นักกีฬาติดหมายเลขเสื้อที่ด้านหลัง หมายเลข 1-15
กติกาการเล่น 1. ผู้เล่นประเภททีมเดี่ยว มีนักกีฬารวม 4 คน ประกอบด้วย ตัวจริง 3 คน สำรอง 1 คนประเภททีมชุด ใน 1 ชุดมี 3 ทีม มีนักกีฬาทีมละ 4 คน รวม 12 คน ผู้เล่นทีมละ 3 คน สำรอง 1 คน2. ตำแหน่ง มี 3 ตำแหน่ง คือ2.1 หลัง ( back) เป็นผู้เสิร์ฟ หรือส่งตะกร้อจากวงกลม2.2 หน้าซ้าย2.3 หน้าขวา3. การเปลี่ยนตัวผู้เล่น เปลี่ยนตัวได้ ทีมละ 1 คน ทีมใดเหลือผู้เล่นไม่ถึง 3 คนถือว่าแพ้4. การเสี่ยงและการอบอุ่นร่างกายก่อนการแข่งขันจะมีการเสี่ยงเพื่อเลือกแดนหรือเสิร์ฟ ผู้ชนะในการเสี่ยงมีสิทธิ์เลือกก่อน ฝ่ายที่เสิร์ฟก่อน จะได้สิทธิ์ในการอบอุ่นร่างกายที่สนามก่อน 2 นาที พร้อมเจ้าหน้าที่และนักกีฬาไม่เกิน 5 คน5. ตำแหน่งของผู้เล่น ระหว่างเสิร์ฟเมื่อเริ่มเสิร์ฟ ผู้เล่นทั้งสองทีมจะอยู่ในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟ จะอยู่ในที่จุดของตนเองจนกว่าจะทำการเสิร์ฟเสร็จ(เมื่อลูกข้ามตาข่ายไปแล้ว) ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟต้องไม่เหยียบเส้นจนกว่าการเสิร์ฟจะเสร็จ6. การส่ง และการเปลี่ยนส่ง การส่ง เมื่อฝ่ายที่เลือกส่ง จะทำการส่ง ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายต้องอยู่ในแดนของตนเอง ฝ่ายที่เสิร์ฟ ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟต้องอยู่ในเขตของตนเอง ผู้เล่นแดนหน้าทั้งสอง ยืนอยู่ภายในเส้นครึ่งวงกลมติดตาข่ายกลางสนาม หนึ่งคนมีหน้าที่โยนลูกให้ผู้เล่นแดนหลัง ส่งลูกไปยังฝ่ายตรงข้าม ผู้เล่นแดนหลัง เป็นผู้เสิร์ฟ โดยเมื่อผู้โยนได้โยนลูกมาให้แล้ว ต้องใช้เท้าส่งลูกไปให้ข้ามไปยังแดนของฝ่ายตรงข้าม ขณะส่งลูกต้องยืนอยู่ที่วงกลมกลางสนามแดนของตนเอง ขณะเสิร์ฟ ผู้เล่นทั้งหมดห้ามเหยียบเส้นหรือออกนอกวงกลม จนกว่าลูกจะข้ามตาข่ายไปแล้วผู้เล่นฝ่ายรับ จะยืนอยู่ที่ใดก็ได้ ในแดนของตนเองการเปลี่ยนส่งกระทำเมื่อมีการส่งลูกผิดกติกา หรือฝ่ายรับทำให้ลูกตกในแดนของฝ่ายตรงข้ามได้ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเล่นลูกเกิน 3 ครั้ง (ไม่นับรวมลูกบล๊อก) หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่สามารถส่งลูกมาข้ามตาข่ายไปลงยังแดนของฝ่ายตรงข้ามได้ หรือเล่นลูกออกนอกเส้นของฝ่ายตรงข้าม7. การขอเวลานอก ขอเวลานอกได้เซตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที8. การนับคะแนนปัจจุบัน นับคะแนนแบบแรลลี่พ๊อยท์ คือ ฝ่ายใดทำลูกเสีย ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนน8.1 ลูกดี หมายถึง ลูกที่ฝ่ายหนึ่งส่งลูกข้ามไปยังแดนคู่ต่อสู้และลงภายในสนาม และฝ่ายหนึ่งจะเล่นลูกได้ไม่เกิน 3 ครั้ง คนหนึ่งจะเล่นกี่ครั้งก็ได้8.2 ลูกเสีย หมายถึง ฝ่ายที่เล่นลูกไม่สามารถส่งลูกข้ามไปยังแดนของคู่ต่อสู้ได้ หรือส่งลูกข้ามไปแล้วทำลูกออกนอกสนาม หรือทำลูกถูกมือหรือแขนของตนเอง รวมถึงการทำลูกถูกแขนผู้เล่นฝ่ายเดียวกันด้วย8.3 ลูกครูด หรือ การเล่นลูกครั้งเดียวแต่ลูกไปถูกส่วนอื่นของร่างกาย ให้นับเป็นการเล่นลูก 1 ครั้ง9. การได้คะแนน เสียคะแนนฝ่ายใดทำลูกเสีย ฝ่ายตรงข้ามจะได้คะแนนทันที10. ระบบการแข่งขันการแข่งขันใช้ระบบ 2 ใน 3 เซต เซตที่ 1 - 2 จะมี 21 คะแนน ทีมที่ได้คะแนน 21 ก่อน จะเป็นผู้ชนะ แต่ต้องมีคะแนนห่างฝ่ายตรงข้าม 2 คะแนน หากเท่ากันที่ 20 คะแนน จะทำการแข่งขันต่อ (หรือดิวส์)จนกว่าจะมีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 25 คะแนนหากทำการแข่งขันเสมอกันที่ 1 ต่อ 1 เซต จะทำการแข่งขันในเซตที่ 3 เป็นเซตตัดสิน จะมี 15 คะแนน ก่อนแข่งขันต้องเสี่ยงเลือกแดนใหม่ เมื่อทำการแข่งขันไปถึงคะแนนที่ 8 จะทำการเปลี่ยนแดนเมื่อคะแนนเท่ากันที่ 14 จะทำการดิวส์ หรือแข่งขันต่อจนกว่าจะมีคะแนนห่างกัน 2 คะแนน แต่ไม่เกิน คะแนนที่ 17
ประวัติตะกร้อ>>> ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกำเนิดจากที่ใด จากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผลดังนี้ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬาตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า "ชิงลง" ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา (Sepak Raga) คำว่า Raga หมายถึง ตะกร้า>>>ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak>>>ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขนไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้นำการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek KK'au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่>>>ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียวห่อด้วยผ้าสำลีเอาหางไก่ฟ้าปัก>>>ประกาศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชนชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด